เรื่องเล่าจากพื้นที่ : แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการฟื้นฟูอาชีพและรายได้จากผลกระทบโควิด-19 พื้นที่ จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565

#เรื่องเล่าจากพื้นที่โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูอาชีพและรายได้ฯ พื้นที่ จ.ลพบุรี จากการลงพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการดำเนินงานร่วมกับผู้นำแรงงานนอกระบบที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565

เรื่องและรูปภาพโดยนายยุคนธร พรมเดช และนายณรงค์ฤทธิ์ ยอดคำ ทีมโครงการฯ จ.ลพบุรี

#ชีวิตดีขึ้นเพราะคำว่าสติและกัลยาณมิตร ………………………………..สรุปบทเรียน โครงการฟื้นฟูอาชีพ รายได้ สุขภาพและสิ่งแวดล้อม กลุ่มอาชีพค้าขาย + เกษตรกรรมทำนา พื้นที่อำเภอบ้านหมี่ + อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เป็นกิจกรรมสุดท้าย ก่อนที่จะปิดตัวลงอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 ก.พ.65 การพูดคุยและสรุปผลสำเร็จในการทำงานของกลุ่ม แยกเป็นประเด็นได้ดังนี้

1) สมาขิกของกลุ่มมีความเข้าใจในเป้าหมายโครงการ เกี่ยวกับการจัดการตนเอง ให้มีความเครียดลดลงด้วยการทบทวนตัวเอง จากข้อมูลพื้นฐานที่ระบุว่า เครียดจากเงินไม่พอใช้ ค้าขายไม่ได้ ผลผลิตตกต่ำ ในช่วงโควิด -19 ระบาดหนัก ตั้งแต่เดือน เมษายน 2564 เป็นต้นมา มีหนี้สินรุงรัง เพราะค้างชำระกับสถาบันการเงิน เครียดจากสภาพแวดล้อมรอบตัว กังวลเรื่องโควิด -19 ระบาด กลัวติดและกระจายจากตนเองไปสู่คนในครอบครัว จากความเครียดดังกล่าว เมื่อได้รับฟังแล้วคณะทำงานทั้ง 2 พื้นที่ ก็ลงเยี่ยมบ้านไม่บ่อย แต่จะโทรLine เพื่อรับฟังและเพื่อให้เพื่อนระบายความเครียดออกมา เป็นการเยียวจิตใจ นอกจากนั้นก็แนะนำขั้นตอนการไปประนอมหนี้กับสถาบันการเงิน เพื่อชลอการจ่ายหนึ้ออกไปก่อน ป้องการการฟ้องคดีความในอนาคต

2) เกิดเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อนระหว่าง 2 พื้นที่ แนะนำกันให้ทำอาชีพเสริม เข่น ขายไม้กระแส จำพวกบอนสี มีรายได้เพิ่มขึ้นเดือนละ 1,500 – 3,000 บาท พอได้มีรายรับใช้จ่ายเรื่องค่าอาหาร ค่าน้ำ- ไฟ แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือ ไม่มีเงินออม แถมเป็นหนี้เพิ่มขึ้น ระหว่าง 10,000 – 500,000 บาท สาเหตุมาจากไม่มีเงินมาลงทุนต่อในอาชีพ ด้วยเงินเก็บได้นำออกมาใช้จ่ายในช่วงล็คดาวน์ จึงได้กู้เงินเพิ่ม

3) ความสุข ไม่เพิ่มขึ้น อยู่เท่าเดิม ระหว่าง 67-90 คะแนน จากคะแนนเต็ม 120 คะแนน จะเห็นได้ว่า ความเครียดจากสถานการณ์ยุคข้าวยากหมากแพง ส่งผลให้ความเครียดมีอยู่ตลอดเวลา แค่สามารถจัดการให้อยู่คงที่ได้ และมีทางออกสำหรับตนเองและคนในครอบครัว

4) การจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อลดการเจ็บป่วยและความเครียด ทั้ง 2 กลุ่มเพิ่มชั่วโมงทำงานให้ยาวนานขึ้นจากวันละ 9 ชั่วโมง เป็น 18 ชั่วโมง แต่ผลัดเปลี่ยนกันระหว่างคนในครอบครัวเพื่อออกไปค้าขายและทำนา เพื่อให้อีกคนได้มีเวลาพักผ่อนบ้าง รวมถึงการรับจ้างทั่วไป มีรายได้เพิ่มขึ้นวันละ 150-300 บาท แต่ก็อย่างว่า มีเงินเข้าทุกวัน แค่ไม่มีเงินเก็บ ลำพังจะกินต่อวันยังจะไม่มีเพราะค่าใช้จ่ายสูงขึ้น แต่รายรับคงเดิม หรือเพิ่มขึ้นเพียง 35-45%

5) เมื่อสรุปตามผลลัพธ์ 2 กลุ่มไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน เพราะศักยภาพการจัดการตนเองและครอบครัว ไม่ถึง 50% แต่สามารถจัดการความเครียดได้ ศักยภาพการเรียนรู้อยู่ในเกณฑ์ 51 % เท่านั้น ไม่ถึง 60% ตามที่ตั้งไว้ จะอย่างไรก็ตาม มีคำพูดอยู่ 1 คำพูดที่ทุกคนพูดตรงกันว่า “ โครงการนี้ มาข่วยหนูจัดระบบความคิด สร้างแนวความคิดให้รู้จักตนเอง รักตนเอง มีสติยั้งคิดทั้งเรื่องการใช้เงินอย่างเท่าที่จำเป็นใช้ รู้ว่าตัวเองกำลังเครียด และไม่คิดทำร้ายตัวเอง เพราะชีวิตมีคุณค่าเกินกว่าจะทำลายให้มลายลงไป “ เครื่องมือที่พวกหนูชอบคือ แบบประเมินความเครียด SPST-20

สิ่งนี้มันทำให้พวกหนู และสมาชิกได้รับรู้ว่า ขณะนี้กำลังเครียดจัด เครียดมาก ต้องระบายออกมากับคนที่ไว้วางใจได้ และเครื่องมืออีกขิ้นหนึ่ง ที่ทางครูอำไพ อาจารย์ แอ๊ด แนะนำให้ค้นหารากลึกของปัญหาและความเครียดคือ ต้นไม้ปัญหา ทั้งสมาขิกลุ่มและพวกหนูชอบมาก มันสื่อเข้าใจง่ายดี แต่ยากไปหน่อย ถ้าไม่มีพวกพี่แอ๊ว และพี่ต่ายมาคอยแนะนำ หนูก็คิดว่าจะใช้ได้ไม่สะดวกคล่องตัว เพราะเป็นการคิดเขิงระบบ ต้องฝึกฝนบ่อย ๆจะอย่างไรก็ตาม โครงการก็เป็นเครื่องมือหนึ่งเท่านั้น มาช่วยจัดระบบความคิดของแต่ละคน ต่อให้โครงการดี เครื่องมือดี หากไม่ลงมือทำก็ ไร้สาระแก่นสารทั้งสิ้น ไม่รู้ว่าจะได้ไปต่อหรือไม่

อย่างน้อยก็พิสูจน์ ได้ว่า ชาวบ้าน ป.6 ~ ป.ตรี ก็มีความเครียดได้ทุกคน และสามารถจัดการความเครียดนั้น ให้ลดลงและมีความสุขได้ เพียงแค่เรียนรู้และลงมือทำทันทีมีบทเรียนที่สำคัญและเพิ่มพูนจากโครงการสร้างสุข ลดทุกข์คือ การเกี่ยวร้อยเป็นเครือข่ายอาชีพ เพื่อการมีรายได้เพิ่มขึ้น ในครอบครัว คอยช่วยเหลือกันและกัน ให้ก้าวผ่านความทุกข์ที่ถาถมเข้ามา ในด้านไม่มีงาน ไม่มีเงิน และเกิดหนึ้เพิ่มขึ้น และหาทางออกของชีวิตด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงร่วมกัน ถือว่าเป็นเครือข่ายเรียนรู้เรื่องการจัดการอาชีพโดยแท้จริง การคิดทบทวนตนเอง จากการค้นพบว่า ตัวเราเครียดเพราะเงินไม่พอใช้ ต้องจัดระบบการใช้จ่ายให้ดี คิดก่อนใช้เสมอ และแบ่งเป็นสัดส่วนแยกออกระหว่าง ใช้กิน ใช้หนี้ ใช้ซื้อของ ใช้เที่ยวพักผ่อน และเก็บไว้ใช้ เพื่ออนาคตจะได้ไม่ลำบาก

บทเรียนที่สำคัญอีกอย่างคือ การไม่กลับไปใช้ชีวิตแบบเก่า ที่ไม่ได้วางแผน ไม่ได้ตั้งเป้าหมายของชีวิต ซึ่งใช้ชีวิตแค่วันต่อวัน ติดการพนัน ดื่มเหล้า ซื้อของฟุ่มเฟือยการมีขีวิตนั้น ต้องมีการวางเป้าหมายชีวิต กำหนดแผนที่ทางเดินชีวิตให้ชัดเจนว่า ต้องมีสุขจากการมีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้สม่ำเสมอ มีครอบครัวที่อบอุ่น มีเครือข่ายเพื่อนที่คอยสนับสนุนกัน และ ควรรู้สุข รู้ทุกข์ และรู้ตัวเองอย่างสม่ำเสมอ รักษากาย จิตใจ ให้สดชื่น เข้มแข็ง เพื่อการมีขีวิตที่ดี มีคุณภาพ สามารถพึงพิงตัวเองได้ โดยการรู้กิน รู้ใช้ รู้จักใช้ชีวิตที่ปลอดภัยจากการเจ็บป่วยจาการทำงาน และ ควบคุมเครียดได้ ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมชีวิตคือ พาตัวเองไปในที่มีเครือข่ายอาชีพที่ดี มีการเขื่อมโยงกันให้เกิดการแลกเปลี่ยนค้าขาย เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ป้องกันการเจ็บป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ

การดำเนินงานมีปัญหา/อุปสรรคคือ- โควิด -19 ระบาดหนัก รวมตัวเรียนรู้เกินกว่า 5 คน ไม่ได้ เพราะเกรงว่าจะเป็นกลุ่มใหญ่ จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด -19 ได้ จึงต้องจัดกิจกรรมหลายรอบ เสียเวลาหลายครั้ง ในบางครั้งก็ต้องกังวงว่า เข้าร่วมกิจบ่อย ๆ ไม่ได้ทำมากินขาดรายได้ในแต่ละวัน หรในครั้ง ปรับเวลามาเป็นช่วงเวลาเลิกแล้ว ก็ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพราะเดิดอาการเหนื่อยล้า ด้วยทำงานมาทั้งวัน รู้สึกเพลีย ส่งผลให้ไม่พร้อมต่อการเรียนรู้ – การปฏิบัติการไม่ต่อเนื่อง ไม่ได้ฝึกใช้เครื่องมือที่มี ให้เกิดความชำนาญ มีทักษะ เพราะโควิดระบาด หนักมากในพื้นที่ ต้องเว้นระยะห่างการจัดกิจกรรมไปเป็นระยะเวลา 90 วัน – การเร่งหารายได้ เพื่อมาใช้จ่ายในบ้าน ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

จึงส่งผลให้ลืมเลือนการใช้เครื่องมือเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง- ช่วงอายุของสมาชิกก็มีนัยยะสำคัญ สมาชิกกลุ่มส่วนมาก มีอายุ 50 -71 ปี ใช้ Line Zoom ไม่เป็น เกิดการติขัดเวลาเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี – การเรียนรู้ผ่านกลุ่ม Line ไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ ถึงการใช้เครื่องมือและการแลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อนำไปปรับประยุกต์ใช้ ในขีวิตประจำวันอย่างสม่ำเสมอ จนเป็นนิสัยอย่างถาวรข้อเสนอแนะ ควรขยายโอกาสให้ปฏิบัติการอีก 1 ปี เพื่อเรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นพฤติกรรมถาวร เพราะด้วยระยะเวลาเพียง 1 ปี แต่ผลลัพธ์เน้นคุณภาพ กลุ่มเราอาจจะไม่ผ่าน เพราะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความเชื่อเดิมที่ฝังกัวแน่นมามายาวนานนั้น ต้องใช้เวลามาปลดล็อคความคิด และใช้เวลาปรับตัว ปรับแนวคิด นานมากกว่าพื้นที่อื่น ด้วยพื้นที่ลพบุรี เป็นพื้นที่ใหม่ เปรียบได้กับเด็กกำลังฝึกเดิน 55ขอความสุขสวัสดี จงมีแด่พวกเรา ขอบคุณมากสำหรับเสียงหัวเราะ รอยยิ้ม และคราบน้ำตาในบางเวลาที่พี่คนดุ ทำให้เสียใจ และตกใจกับมาดแม่มดของพี่ 555………………………………………Thank you.#SADA Thailand #สสส.#ฟื้นฟูอาชีพรายได้และสิ่งแวดล้อม#สร้างสุข-ลดทุกข์#แรงงานนอกระบบ0จำนวนคนที่เข้าถึง1การมีส่วนร่วมโปรโมทโพสต์

1SADA Thailand

Categories: กิจกรรมความร่วมมือ