โครงการที่ดำเนินการภายใต้สมาคม

โครงการที่ดำเนินการภายใต้สมาคมวิถีทางเลือกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี 2559-2565

1. โครงการพัฒนานโยบายและกลไกการเข้าถึงระบบการสร้างเสริมสุขภาพความปลอดภัย และอาชีวอนามัยสำหรับกลุ่มแรงงาน (ปี 2559-2561)

2.โครงการจัดการความรู้เพื่อการขยายผลและพัฒนากระบวนการเชิงนโยบายการสร้างเสริมสุขภาวะแรงงานนอกระบบ (ปี 2559-2561)

3.โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำและกลไกการนำนโยบายเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะกลุ่มแรงงานนอกระบบสู่การปฏิบัติระดับจังหวัด (ปี 2559-2561)

4. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำและกลไกการสร้างเสริมสุขภาพจิตกลุ่มแรงงาน “การสร้างสุข ลดทุกข์” (ปี 2560-2562)

5. โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ โดยฐานท้องถิ่นสำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ (ปี 2562-2564) 

6. โครงการสร้างเสริมสุขภาพจิตเชิงรุก กลุ่มวัยแรงงาน “การสร้างสุข ลดทุกข์” (ปี 2563-2564)

7. โครงการการส่งเสริมและฟื้นฟูอาชีพและรายได้เพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม กลุ่มแรงงานนอกระบบที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 (ปี 2563-2564)

8.  งานคุ้มครองผู้บริโภค จ.เชียงใหม่ (ปี 2564-2565) ร่วมกับ ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ภาคประชาชน จ.เชียงใหม่

9. โครงการบูรณาการองค์ความรู้การสร้างเสริมสุขภาพจิตกับนโยบายประกันทางสังคมเพื่อการขยายผลต่อเนื่อง สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ (ปี 2565-2566) 

10. โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะแรงงานนอกระบบที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ภาคเหนือ (ปี 2565-2566) 

สนับสนุนโดย :

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  

สภาองค์กรของผู้บริโภค (Thai Custumers Coucil : TCC)

ภาคีเครือข่ายการทำงานร่วมกับสมาคมฯ

1. มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และสำนักปลัด กระทรวงแรงงาน

2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการความรู้เพื่อการขยายผลและพัฒนากระบวนการนโยบายระดับจังหวัด (ระดับพื้นที่ – จังหวัด/ตำบล) รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบกระทรวงแรงงาน ประกอบด้วย ศูนย์ประสานและสนับสนุนเครือข่ายแรงงานนอกระบบจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยแรงงานจังหวัด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สำนักจัดหางาน ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดและสำนักงานประกันสังคม

3. กระทรวงสาธารณสุข : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขตพื้นที

4. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขตพื้นที่

5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

6. สำนักงานเกษตรจังหวัดและศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบล

7. เครือข่ายภาคประชาสังคมที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ

8. สถาบันวิชาการในภูมิภาค ได้แก่ สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม (RDSI) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, ศูนย์ศึกษาและพัฒนานวตกรรม คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, สาขาวิชาการจัดการชุมชน คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัย แม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ, สาขาบ้านและชุมชน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, ภาควิชาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ฯลฯ