การหารือเชิงนโยบาย : แนวทางการขับเคลื่อนโครงการบูรณาการองค์ความรู้การสร้างเสริมสุขภาวะ (สร้างสุข ลดทุกข์) กับการสร้างหลักประกันทางสังคม วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ณ กระทรวงแรงงาน กรุงเทพฯ

#การหารือเชิงนโยบาย : แนวทางการขับเคลื่อนโครงการบูรณาการองค์ความรู้การสร้างเสริมสุขภาวะ (สร้างสุข ลดทุกข์) กับการสร้างหลักประกันทางสังคม เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ณ กระทรวงแรงงาน กรุงเทพฯ ….
คณะทำงานทีมขับเคลื่อนนโยบายโครงการบูรณาการองค์ความรู้สุขภาพจิตฯ ได้เข้าพบปลัดกระทรวงแรงงาน เรื่องหารือนโยบาย :แนวทางการขับเคลื่อน
โครงการบูรณาการองค์ความรู้การสร้างเสริมสุขภาวะและการสร้างหลักประกันทางสังคม
1.สถานการณ์แรงงานนอกระบบ
2.สถานการณ์โควิด-19 กับสุขภาพ และความยากลำบาก ส่งผลในการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่
3.การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ ในมิติหลักประกันทางสังคม มิติสัมมาชีพ และมิติความเป็นองค์กร และสถาบัน
4.สถานการณ์ประกันสังคมมาตรา40 ปัญหายังไม่ครอบคลุมแรงงานนอกระบบทั้งหมด ที่มีอยู่ก็ลดจำนวนลงทำให้ส่งผลกระทบต่อกองทุน
พื้นที่นอกเขตชุมชนเมืองหรือชนบท มีปัญหาในการเดินทางเพื่อส่งเงินสมทบ การบริหารจัดการด้านนี้ยังไม่สอดคล้องกับบริทบหรือมิติของพื้นที่ จึงขาดแรงจูงใจในการเป็นสมาชิก
5.องค์ความรู้การสร้างเสริมสุขภาพ และการสร้างหลักประกันทางสังคมเชิงรุก แก่แรงงานนอกระบบ ในมิติทางด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ ความมั่นคงทางอาหาร และ การเข้าถึงบริการด้านสวัสดิการ
ผ่านระบบกลไกบูรณาการร่วมกันในระดับพื้นที่
และระดับจังหวัด
6.เป้าหมาย
1.แรงงานนอกระบบมีความสุขเพิ่มขึ้น
2.มีหน่วยบริการชุมชนเป็นกลไกในพื้นที่
3.เพิ่มจำนวนแรงงานนอกระบบเป็นผู้ประกันตนมาตรา40
7.วัตถุประสงค์
-ขยายองค์ความรู้
-สนับสนุนกระบวนการบูรณาการ
-สนับสนุนความรู้นวัตกรรมเชิงระบบ
-ประสานสนับสนุนกิจกรรมสื่อสาร
และรณรงค์นโนบายระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
8.ภาคีเครือข่ายดำเนินการ
-กระทรวงแรงงาน(หน่วยงานฯ)
-กระทรวงสาธารณสุข (สปสช.)
-ภาคประชาสังคมฯ
-สมาพันธ์ศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบแห่งประเทศไทย
-ศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบฯ
-อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
9.กระบวนการทำงานบูรณาการ
:ขยายความร่วมมือ หน่วยงาน นักวิชาการ หน่วยบริการชุมชน อาสาสมัคร
กลุ่มอาชีพ อื่นๆ
10.ข้อเสนอแนวทางการทำงานบูรณาการ
1)แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ
2)แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนระดับจังหวัด
3)กำหนดนโยบายการขับเคลื่อนหน่วยบริการชุมชน
4)สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาหน่วยบริการชุมชน
ทำหน้าที่สร้างความรู้ความเข้าใจ และความรอบรู้ ด้านหลักประกันทางสังคม และหลักประกันสุขภาพความปลอดภัย
ในการประกอบอาชีพ
ให้บริการฯผู้ประกันตน
มาตรา40 ตามร่างแผนการดำเนินงาน
5)สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและคณะทำงานฯ
6)จัดให้มีเวทีสมัชชาแรงงานนอกระบบเพื่อส่งเสริมเครือข่ายฯ
7)จัดให้มีกระบวนการ จัดทำข้อตกลงความร่วมมือMOUกับหน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
8)พัฒนาระบบและกลไกล
บูรณาการติดตามประเมิลผล และสร้างแรงจูงใจการขับเคลื่อนงานในพื้นที่นำร่อง ให้เกิดผลงานและนวัตกรรมการบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ
พื้นที่ดำเนินการ
หน่วยบริการระดับพื้นที่จังหวัด และกรุงเทพฯ จำนวน 51หน่วยบริการ 14จังหวัด และกรุงเทพฯ
สุจิน รุ่งสว่าง
ประธานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบแห่งชาติ
21/7/65

Categories: กิจกรรมความร่วมมือ