ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนโครงการบูรณาการสร้างสุขฯ ภาคใต้ วันที่ 11-12 กันยายน 2565

#การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนโครงการบูรณาการสร้างสุขกับหลักประกันทางสังคมเพื่อการมีคุณภาพชีวิต สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ (กลุ่มจังหวัดนำร่องภาคใต้ : จังหวัดกระบี่ สตูล และสงขลา) วันที่ 11-12 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประกายกาญจน์ ชั้น 2 โรงแรมคริสตัล หาดใหญ่ ต.ตลาดเมืองหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา….
 

สรุปผลการประชุมฯ ดังนี้ 

1. คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการจังหวัดกระบี่ สงขลาและสตูล มีความเข้าใจร่วมกันในเป้าหมายการทำงาน กระบวนการทำงาน คือ

1)เกิดหน่วยบริการชุมชนสร้างเสริมสุขภาพจิตและหลักประกันทางสังคม ในพื้นที่อย่างน้อยจังหวัดละ 3-5 หน่วย
2) มีหลักสูตรการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและหลักประกันทางสังคมพร้อมสื่อของแต่ละแห่งในพื้นที่ปฏิบัติการ 
3) ศูนย์ประสานและสนับสนุนเครือข่ายแรงงานนอกระบบมีบทบาทในการบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพจิต เข้ากับระบบและโครงสร้างการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบจังหวัด ทั้งในระดับปฏิบัติและนโยบายจังหวัด
4) แรงงานนอกระบบอย่างน้อยร้อยละ 60 ของจำนวนสมาชิกผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในหน่วยบริการชุมชนเป้าหมาย ได้รับบริการการสร้างเสริมสุขภาพจิตเชิงรุกจากการมีนโยบายสนับสนุน
        ซึ่งตรงกับหลักที่ว่า “การสร้างความรอบรู้ มากกว่าความรู้ และการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการบูรณาการประเด็นงานเข้าไปมีส่วนกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. ได้ร่างแผนปฏิบัติการในจังหวัด 3 จังหวัด ดังนี้

2.1 จังหวัดสงขลา เป้าหมาย 1) ได้คณะทำงานขับเคลื่อนโครงในพื้นที่  1 ชุด จำนวน 15 คน 2) ได้แผนขับเคลื่อนและพัฒนาหน่วยบริการฯ จำนวน 1 แผน โดยมีกิจกรรมดำเนินงานคือ (1) ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจคณะทำงานจังหวัด (2) จัดทำแผนขับเคลื่อน/พัฒนาหน่วยบริการชุมชน 5 หน่วย (3) พัฒนาศักยภาพหน่วยบริการชุมชนเป้าหมาย

2.2 จังหวัดสตูล เป้าหมาย 1) ได้คณะทำงานขับเคลื่อนโครงในพื้นที่  1 ชุด ที่มาจากหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานและภาคประชาชน ตามโครงสร้างคำสั่งจังหวัด  2) ได้หน่วยบริการชุมชน จำนวน 5 หน่วย  3) ได้บุคคลตัวอย่าง ที่สามารถจัดการตนเองด้านด้านการเงิน,สุขภาพ จำนวน  3 คน โดยมีกิจกรรมดำเนินงานคือ (1) ทบทวนโครงสร้างคณะทำงานจังหวัด (2) จัดทำแผนขับเคลื่อน/พัฒนาหน่วยบริการชุมชน 5 หน่วย

2.3 จังหวัดกระบี่ เป้าหมาย 1) ได้คณะทำงานระดับจังหวัด จำนวน 15 คนที่มีความเข้าใจในการปฏิบัติงานและมีบทบาทในการขับเคลื่อนงาน จำนวน 1 ชุด 2) มีข้อมูลพื้นฐานของหน่วยบริการชุมชน จำนวน 6 แห่ง  3) เกิดหน่วยบริการชุมจำนวน 6 แห่ง ที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพเป็นองค์กรคุณภาพจำนวน 2 แห่ง  4) มีแผนติดตามประเมินผลหน่วยบริการชุมจำนวน 6 แห่ง ที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพเป็นองค์กรคุณภาพจำนวน 2 แห่ง  โดยมีกิจกรรมดำเนินงานคือ (1) จัดตั้งคณะทำงานระดับจังหวัด จำนวน 15 คนที่มีความเข้าใจในการปฏิบัติงานและมีบทบาทในการขับเคลื่อนงาน (2) จัดทำข้อมูลพื้นฐานของหน่วยบริการชุมชน จำนวน 6 แห่ง (3) พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน หน่วยบริการชุมจำนวน 6 แห่ง ที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพเป็นองค์กรคุณภาพจำนวน 2 แห่ง และ (4) จัดทำแผนติดตามประเมินผลหน่วยบริการชุมจำนวน 6 แห่ง

3. คณะทำงานขับเคลื่อนจังหวัด ได้เรียนรู้และพิจารณากรอบเนื้อหาภาพรวมคู่มือ วัตถุประสงค์และกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับสมาชิกศูนย์ประสานงานและหน่วยบริการชุมชน และได้เลือก (ร่าง) ชุดการเรียนรู้เที่สอดคล้องกับแผนการดำเนินงานในช่วงไตรมาสแรก มาเรียนรู้และฝึกปฏิบัติร่วมกัน เพื่อนำไปปรับและใช้ วางแผนการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานฯ ตามแผนปฏิบัติการฯ ที่ได้กำหนดร่วมกัน

#ขอขอบคุณ ข่าวประชาสัมพันธ์ของสำนักงานแรงงานจังหวัดกระบี่ ด้วยค่ะ

Categories: กิจกรรมความร่วมมือ