พรบ.กองทุนการออมแห่งชาติ

พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554

ความเป็นมา

ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุมาแล้วเกือบ 10 ปีก่อนหน้านี้ โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้มีการวางแผนการออมมาตั้งแต่ช่วงที่ยังอยู่ในวัยทำงาน ในขณะที่ระบบ บำนาญของประเทศเองยังมีความเหลื่อมล้ำและแยกกันอยู่ กล่าวคือ

 ภาครัฐ              =>   มี กบข. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีกองทุนสงเคราะห์ครู หรือประกันสังคมส่งเสริมการเก็บเงินสมทบลูกจ้างนายจ้าง

 ภาคเอกชน         =>   มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

 ภาคประชาชน     =>   ต่างคนต่างออม ใครไม่มีหนี้ก็ออมเอง แต่ส่วนใหญ่ยังขาดการตระหนักรู้ถึง ความจำเป็นของการออมเพื่อการเกษียณของตนเอง

            ซึ่งระบบบำนาญทั้ง 3 มิตินั้นก็แยกการควบคุมจัดการไปแต่ละส่วน ขาดการบริหารและมองภาพรวม และต่อมาเมื่อพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติมีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2554 การปฏิบัติตามกฎหมายก็ถูกละเลยและ ‘ชะลอ’ การดำเนินงานไว้ ประชาชนกว่า 25 ล้านคนซึ่งอยู่ในเงื่อนไขของผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกกองทุนไม่สามารถใช้สิทธิของตนตามกฎหมาย จนเวลาล่วงเลยมาถึงปี พ.ศ. 2557 ที่รัฐบาลได้ผลักดันให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมายจนกองทุนการออมแห่งชาติสามารถเปิดรับสมัครสมาชิกได้ ในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

            กล่าวได้ว่า เป็นครั้งแรกที่ระบบบำนาญของประเทศไทยมีกรอบการดำเนินงานครบถ้วนรองรับประชาชนทุกภาคส่วน สามารถลดความเหลื่อมล้ำของสังคมในมิติด้านการออมเพื่อการเกษียณได้ หากมีการออมต่อเนื่องยาวนาน ก็จะสามารถมีความมั่นใจได้ว่าประชาชนของประเทศจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในวัยชรา 

วัตถุประสงค์จัดตั้ง

           “กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก และเพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำนาญ และให้ประโยชน์ตอบแทนแก่สมาชิกเมื่อสิ้นสมาชิกภาพ”

อ่านข้อมูล พ.ร.บ.กองทุนแห่งชาติฯ เพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ

http://www.nsf.or.th/images/nsf/pr/knowledge/nsf2554.pdf

 

 

ที่มา : กองทุนการออมแห่งชาติ