สิทธิประโยชน์และเงื่อนไข ผู้ประกันตนมาตรา 40
กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วัน/ปี
- การรักษาพยาบาลใช้สิทธิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือบัตรทอง 30 บาท
เงื่อนไขการรับสิทธิ
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 4 เดือน ก่อนประสบอันตราย/เจ็บป่วย
- รักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับสิทธิวันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วันต่อปี
กรณีทุพพลภาพ
- ได้รับเงินทดแทนการขาดได้ตั้งแต่ 500 – 1,000 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี
- ตายก่อนครบ 15 ปี รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท
เงื่อนไขการรับสิทธิ
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 10 เดือน ก่อนเป็นผู้ทุพพภาพ จะได้รับสิทธิ 500 บาท/เดือน
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 20 เดือน ก่อนเป็นผู้ทุพพลภาพ จะได้รับสิทธิ 650 บาท/เดือน
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 24 เดือน ภายใน 40 เดือน ก่อนเป็นผู้ทุพพลภาพ จะได้รับสิทธิ 800 บาท/เืดือน
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 36 เดือน ภายใน 60 เดือน ก่อนเป็นผู้ทุพพลภาพ จะได้รับสิทธิ 1,000 บาท/เดือน
กรณีตาย
สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เห็นชอบปรับปรุงสิทธิประโยชน์ค่าทำศพ กรณีตาย สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ดังนี้ ทางเลือกที่ 1 และ 2 ปรับเพิ่มจาก 20,000 บาท เป็น 25,000 บาท และหากส่งครบ 60 เดือน จะได้รับเงินสงเคราะห์การเสียชีวิต ปรับเพิ่มจาก 3,000 บาท เป็น 8,000 บาท
สำหรับทางเลือกที่ 3 ปรับเพิ่มจาก 40,000 บาท เป็น 50,000 บาท เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 40 และจูงใจให้แรงงานภาคอิสระที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองจากสำนักงานประกันสังคม ให้เข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น โดยมอบให้สำนักงานประกันสังคมดำเนินการจัดทำประมาณการสถานะกองทุนมาตรา 40 ตามที่ได้มีการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ค่าทำศพ กรณีตาย เพื่อเสนอคณะกรรมการฯ รับทราบ และดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่อไป
เงื่อนไขการรับสิทธิ : ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 12 เดือนก่อนเสียชีวิต
หมายเหตุ
“อุบัติเหตุ” หมายความว่า เหตุที่เกิดโดยไม่คาดดิดเป็นเหตุให้เสียชีวิต เช่น อุบัตเหตุจากการขนส่ง การตกหรือล้ม การจมน้ำ การสัมผัสความร้อนและสิ่งของที่ร้อน การสัมผัสสารพิษ การถูกทำ้ร้าย การดำเนินการตามกฎหมายและการปฏิบัติการสงคราม การสัมผัสสัตว์และพืชมีพิษ ภัยธรรมชาติจากฟ้าผ่า แผ่นดินไหว เป็นต้น
** ยกเว้น กรณีอุบัติเหตุ ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายใน 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต
กรณีชราภาพ (รับเงินบำเหน็จ) : ได้เงินบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืนทั้งหมด
เงื่อนไขการรับสิทธิ
- เมื่อผู้ประกันตนมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หรือลาออก
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้ไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน
เงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตน ผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้่
- ผู้ประกันตน
- กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตามยก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ ดังนี้
- สามี ภริยา บิดาและมารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่าๆ กัน
- กรณีไม่มีผู้มีสิทธิตามข้อ 2.1 ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพแก่บุคคล ซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จชราภาพ
ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
1. พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 พ.ศ.2554 (มาตรา 40)
ประกันสังคม ม.40
2. พระราชกฤษฎีกากำหนดคุณสมบัติของบุคคลซึ่งอาจสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563
ประกันสังคม ม.40 ขยายอายุผู้ประกันตน
ที่มา : สำนักงานประกันสังคม