พ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553
นับตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2554 เป็นวันที่ พรบ. คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ทางสำนักคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้โดยตรง จึงได้ดำเนินโครงการรณรงค์เผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 เพื่อให้ผู้จ้างงานกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านมีความรู้ ความเข้าในเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 พร้อมทั้งรับทราบถึงบทบาท หน้าที่และสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับตามกฎหมายกำหนด
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2559 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา มีประกาศคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทําที่บ้าน เรื่อง อัตราค่าตอบแทนในงานที่รับไปทําที่บ้าน ระบุว่า ในมาตรา 16 วรรค 1 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 การกำหนดค่าตอบแทนในงานที่รับไปทําที่บ้าน หากงานที่รับไปทําที่บ้านมีลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกันและปริมาณเท่ากันนั้น ให้ผู้จ้างกำหนดอัตราค่าตอบแทน ไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างตามกฎหมาย และต้องไม่เลือกปฏิบัติ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16 วรรค 1 และมาตรา 28 (3) ของ พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงออกประกาศดังนี้
- ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
- อัตราค่าตอบแทนของงานที่รับไปทําที่บ้านในงานที่มีการจ้างงานกันในสถานประกอบกิจการ ต้องไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ เมื่อคํานวณต่อหน่วยตามลักษณะงาน คุณภาพอย่างเดียวกันและปริมาณเท่ากัน
- อัตราค่าตอบแทนของงานที่รับไปทําที่บ้านในงานที่ไม่มีการจ้างงานกันในสถานประกอบกิจการ ให้เป็นไปตามที่ผู้จ้างงานและผู้รับงานไปทําที่บ้านตกลงกัน
- อัตราค่าตอบแทนของงานที่รับไปทําที่บ้านตามข้อ 2 และข้อ 3 ต้องไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกําหนด
- ให้พนักงานตรวจแรงงานมีอํานาจวินิจฉัย กรณีมีข้อสงสัยว่าอัตราค่าตอบแทนของงานที่รับไปทําที่บ้านตามข้อ 2 หรือข้อ 3 น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
โดยประกาศดังกล่าว ประกาศไว้เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2559
อ่านข้อมูลเรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครองฯ ที่ได้ที่นี่คะ
http://www.mol.go.th/sites/default/files/laws/th/home_worker_2553.pdf